2554

การศึกษากำหนดแนวทางส่งเสริมโรงไฟฟ้าชีวมวลชุมชนแบบครบวงจร

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

       ในปัจจุบันการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลขนาดใหญ่ ประสบกับปัญหาอุปสรรค อยู่หลายประการ ทั้งข้อจำกัดในด้านศักยภาพชีวมวลในพื้นที่ มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ ตลอดจนปัญหาการต่อด้านของชุมชนในพื้นที่รอบโครงการ ซึ่งปัญหาประการหลังนี้เป็นผลมาจาก ผู้พัฒนาโครงการละเลยการชี้แจงและสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลให้แก่ ชุมชนในพื้นที่ ประกอบกับเคร่งครัดในการดำเนินการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงไฟฟ้าให้ เป็นไปตามมาตรฐานที่ภาครัฐกำหนด โดยที่โครงการโรงฟ้าชีวมวลที่มีขนาดใหญ่บางแห่งมีกำลัง การผลิตไม่สอดคล้องกับศักยภาพของชีวมวลและฐานทรัพยากรในท้องถิ่นรวมไปถึง

โครงการส่งเสริมการบริการวิซาการพลังงานขยะในสถานศึกษา

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

       จากสถานการณ์พลังงานในปัจจุบันที่ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดการตื่นตัวในการหาพลังงานอื่นๆ มาใช้ทดแทนพลังงานฟอสซิลซึ่งมีปริมาณสำรองลดลง รวมถึงผลกระทบจากปัญหาภาวะโลกร้อนก็เป็นอีกปัจจัย หนึ่งที่ทำให้พลังงานทดแทนซึ่งเป็นพลังงานสะอาดได้รับความสนใจมากขึ้น พลังงานทดแทนจากขยะก็เป็น พลังงานรูปแบบหนึ่งที่มีการนำมาใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากจะช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจาก การกำจัดขยะที่ไม่ถูกวิธีแล้ว ยังสามารถแปลงของเสียให้เป็นพลังงานเพื่อใช้ประโยชน์อีกด้วย

โครงการการศึกษาแนวทางบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อ ใช้เป็นเชื้อเพลิงและลดการเกิดหมอกควัน

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

จากวิกฤติราคาพลังงานปรับตัวขึ้นลงประเทศไทยต้องนำเข้าพลังงานเป็นมูลค่าเกือบหนึ่งล้านล้านบาทในระยะเวลาปีกว่าที่ผ่านมา ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้รับผลกระทบตลอดจนประชาชนได้รับผลกระทบโดยตรงจากราคานํ้ามันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นกระทรวงพลังงานเล็งเห็นความจำเป็นในการจัดหาแหล่งพลังงานที่หลากหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานหมุนเวียนในประเทศจึงมีนโยบายจะพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นแหล่งพลังงานหลักของประเทศด้วยการจัดทำแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี (พ.ศ.

โครงการการพัฒนาไม้โตเร็วสกุล Acacia เพื่อปลูกบนพื้นที่เสื่อมโทรม สำหรับเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ประเทศไทยมีพื้นที่ดินเสื่อมโทรมและพื้นที่ดินทิ้งร้างเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจากการใช้ประโยชน์ที่ดินเกินกำลัง และผิดวิธี นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ดินมีปัญหาอาทิเช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินทรายจัด ที่จัดว่าเป็น non-productive land อีกประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่ประเทศ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการหาแนวทางพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่ดังกล่าวให้สร้างผลผลิตไม่ว่าจะเป็นผลผลิตที่ให้ผลตอบแทนเป็นตัวเงินหรือผลตอบแทนในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ข้อมูลจากกรมพัฒนาที่ดินเกี่ยวกับพื้นที่เสื่อมโทรมและทิ้งร้างของประเทศ พบว่า พื้นที่ที่ควรมีการพัฒนาฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน ได้แก่ พื้นที่ในเขตลุ่มน้ำน่าน และลุ่มน้ำโ

โครงการศึกษาความเหมาะสมการผลิตไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมันที่สหกรณ์ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ตามที่กระทรวงพลังงานได้กำหนดแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี (2551-2565) ขึ้น โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเป็นร้อยละ 20 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของประเทศภายในปี 2565 ซึ่งการส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในภาคขนส่งก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนดังกล่าวด้วย ที่ผ่านมากระทรวงพลังงานได้ดำเนินการส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพตามแผน โดยการบูรณาการกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เป็นต้น โดย กษ.

Pages