ก๊าซชีวภาพ

โครงการส่งเสริมการใช้ถังหมักก๊าซชีวภาพในโรงเรียน กทม.

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

         ในปี พ.ศ. 2548 ประเทศไทยมีขยะมูลฝอยชุมชนเกิดขื่น 14.3 ล้านตัน หรือวันละ 39.221 ตัน ขยะมูลฝอยเหล่านี้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครประมาณวันละ 8.291 ตัน คิดเป็นร้อยละ 21 ของ ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ โดยในส่วนของการกำจัดขยะมูลฝอยนั้น กรุงเทพมหานคร ได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ ขยะส่วนใหญ่จะนำไปกำจัดโดยการฝังกลบ และมีบางส่วนที่ นำไปใช้ทำปุยโดยการหมักแบบใช้อากาศ

การพัฒนาระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะในระดับชุมชน

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 
       ขยะมูลฝอยชุมชน มีองค์ประกอบประมาณร้อยละ 50 เป็นขยะอินทรีย์ ซึ่งปัจจุบันยังจัดการไม่ถูก สุขลักษณะ เช่น กองทิ้งกลางแจ้ง ฝังกลบอย่างไม่ถูกต้อง ทำให้ขยะอินทรีย์นี้เป็นปัญหาต่อสภาพแวดล้อม อย่างรุนแรง หากสามารถแยกขยะอินทรีย์นำมาหมักระบบไร้ออกซิเจนเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ ก็สามารถ
นำไปใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นพลังงานความร้อนหรือผลิตกระแสไฟฟ้าไต้

โครงการสาธิตต้นแบบระบบผลิตก๊าซชีวภาพในสวนสัตว์ดุสิต

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

สวนสัตว์ดุสิต กรุงเทพมหานคร อยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งอยู่ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และสถานที่ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการดำรงขีวตของสัตว์ป่าและธรรมชาติ เพี่อปลูกจิตสำนึกของเยาวชนและประชาชนทั่วไปให้เกิดความรัก ความเข้าใจชีวิตของสัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อมและให้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สัตว์ป่าและป่าไม้ซึงเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า

ศีกษาการใช้ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานในเครื่องผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จัดทำโครงการศึกษาการใช้ก๊าซชีวภาพเป็พลังงานในเครื่องผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตก๊าซชีวภาพที่สามารถดำเนินการได้อย่างเหมาะสมและมีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยทีมนักวิจัยและวิศวกรของคนไทย เพื่อนำกากตะกอนไปใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่า และใช้ก๊าซชีวภาพพลังงานทดแทนอย่างเต็มที่ และรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากจะสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ

โครงการจัดทำระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลเพื่อติดตามและประเมินผลการผลิตก๊าซชีวภาพในประเทศ

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

     ก๊าซชีวภาพ เป็นพลังงานหมุนเวียน ( Renewable Energy) ชนิดหนึ่งที่สามารถดำเนินการผลิตและใช้เป็นพลังงานทดแทนพลังงานจากฟอสซิล ( น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน) หรือจัดเป็นพลังงานทางเลือก (Alternative Energy) ที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเป็นประเทศเกษตรกรรม ทำให้มีวัตถุดิบที่สามารถนำมาผลิตก๊าซชีวภาพได้อย่างหลากหลาย เช่นของเสียหรือน้ำเสียจากภาคอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ภาคปศุสัตว์ ภาคชุมชนและสถานประกอบการต่างๆ หรือแม้แต่ของเหลือทิ้งทางการเกษตรหรือจากพืชพลังงานต่างๆ

Pages