มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โครงการการศึกษาความเป็นไปด้านการผลิตไฟฟ้าระดับชุมชนโดยใช้ พลังงานจากไม้โตเร็ว

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

แนวทางในการลดปัญหาการขาดแคลนพลังงาน ที่สาคัญแนวทางหนึ่งคือการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนในการนามาผลิตกระแสไฟฟ้า ชีวมวลจากไม้โตเร็วที่มีการจัดการปลูกเป็นสวนป่าเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากไม้เชื้อเพลิงที่ได้ปราศจากธาตุหนักที่ก่อให้เกิดมลพิษที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการแปรรูปพลังงานเป็นความร้อน นอกจากนี้การปลูกป่าเชื้อเพลิงในลักษณะหมุนเวียนจะช่วยลดปัญหาการเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของโลกไปในตัว และสามารถใช้เป็นกิจกรรมที่เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร อย่างไรก็ตามการใช้พลังงานจากไม้โตเร็วนั้นถึงแม้จะมีข้อมูลพันธุ์ไม้โตเร็ว และข้อมูลระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากชีวมวลปรา

โครงการการปรับปรุงผิวเมมเบรนและระบบทดสอบเซลล์เชื้อเพลิงเดี่ยวแบบ เมมเบรนพอลิเมอร์อิเล็กโทรไลต์

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

เซลล์เชื้อเพลิงได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกสำหรับอนาคต ด้วยเหตุผลที่ว่าเซลล์เชื้อเพลิงเป็นแหล่งพลังงานสะอาด และมีประสิทธิภาพสูงว่าเครื่องยนต์สันดาปภายใน ปัจจุบันนี้มีการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงสำหรับใช้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับยานพาหนะและสำหรับเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำหรับครัวเรือนกันอย่างแพร่หลาย การพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงในปัจจุบันเน้นไปที่การลดต้นทุนเพื่อให้สามารถนำมาใช้เชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งมีความเป็นไปได้สองทางคือ การลดต้นทุนการผลิต และการเพิ่มสมรรถนะของเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อให้ได้ราคาต่อกำลังไฟฟ้า (บาทต่อกิโลวัตต์) ที่ถูกลง

งานพัฒนาแหล่งน้ำพุร้อนกลุ่มที่มีศักยภาพต่ำโดยใช้เทคโนโลยี การเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อทำห้องอบแห้งสำหรับพืชผลทางการเกษตร

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

น้ำพุร้อน เป็นแหล่งพลังงานทดแทนชนิดหนึ่ง สามารถทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากเชื้อเพลิงนํ้ามันได้ อย่างไรก็ตาม แหล่งนํ้าพุร้อนส่วนใหญ่ของประเทศไทย มีศักยภาพปานกลางถึงตํ่า โดยเฉพาะแหล่งน้ำพุร้อนที่มีศักยภาพตํ่า ไม่สามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานได้
โดยตรง มักจะถูกปล่อยทิ้ง ไม่ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์ ดังนั้นหากมีการใช้เทคโนโลยีเพิ่มอุณหภูมิของนั้า จะสามารถเพิ่มปริมาณการใช้ประโยชน์จากแหล่งนั้าพุร้อนในประเทศไทยได้ไม่ตํ่ากว่า 30 แหล่ง ช่วยให้ประเทศไทยลดการใช้พลังงานจากนั้ามันได้มากขึ้น

โครงการศึกษาเพื่อประเมินศักยภาพแหล่งน้ำพุร้อนในประเทศไทย

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ประเทศไทยเคยมีการสำรวจแหล่งน้ำพุร้อนนานมาแล้ว โดยข้อมูลส่วนใหญ่เน้นด้านธรณีวิทยาเพื่อพิจารณาหินต้นกำเนิดของน้ำพุร้อน และ/หรือเพื่อมุ่งเน้นการผลิตไฟฟ้าเท่านั้น ดังนั้น ในการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ประโยชน์เพื่อการวางแผนในการดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำพุร้อนเชิงพาณิชย์ เช่น ใช้ในห้องอบแห้ง-ห้องเย็นเพื่อเก็บพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งการใช้ประโยชน์ในด้านธาราบำบัด (Spa) จึงมีขีดจำกัดแหล่งน้ำพุร้อนเป็นแหล่งพลังงานที่สามารถจะนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนเช่น ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้เป็นแหล่งความร้อนในการอบแห้งและอบเย็นพืชผลการเกษตร หรือใช้เป็นแหล่งพลังงานในการทำห้องปรับอากาศ จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดภาระกา

การศึกษาศักยภาพและการยอมรับในการพัฒนาไฟฟ้าพลังนํ้าในลุ่มนํ้ายม

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

Pages