มหาวิทยาลัยแม่โจ้

โครงการการศึกษาศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมในเขตภาคเหนือ ตอบบน ระยะที่ 2 การคัดเลือกแหล่งฟาร์มกังหันลม

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

โครงการศึกษาวิจัยโครงการศึกษาศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมในเขตภาคเหนือตอนบนในระยะที่ 2 นี้จะช่วยสามารถกำหนดแหล่งที่จะพัฒนาฟาร์มกังหันลมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนอย่างเป็นรูปธรรม สามารถที่จะนำไปใช้กำหนดแผนในการพัฒนาพลังงานทดแทนจากพลังงานลม และจะช่วยให้ประหยัดงบประมาณและระยะเวลาในการวิจัยเนื่องจากโครงการมีพื้นที่เป้าหมายเบื้องต้นที่มีศักยภาพและความชำนาญด้านพื้นที่อยู่แล้ว

โครงการศึกษาศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมในเขตภาคเหนือตอนบน

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การติดตั้งกังหันลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจำเปีนต้องคัดเลือกแหล่งพื้นที่ที่มีศักยภาพพลังงานลมที่ระดับความสูงประมาณ 40-80 เมตร ซึ่งป้จจุบันข้อมูลดังกล่าวในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนยังไม่มีการศึกษาแหล่งพลังงานลมในภาคสนามอย่างจริงจัง นอกจากนั้นแล้วข้อมูลต้านศักยภาพพลังงานลมที่มีจะเปีนข้อมูลลมที่ใช้ในทางอุตุนิยมวิทยา ซึ่งส่วนมากจะตรวจวัดบนพื้นที่ราบ แต่ตามหลักการของการเกิดพลังงานลมแล้ว พื้นที่ที่มีศักยภาพต้องเปีนพื้นที่บริเวณสันเขาและหุบเขา ดังนั้นโครงการนี่จงได้เสนอที่จะศึกษาศักยภาพพลังงานลมในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เพื่อที่จะสามารถนำข้อมูลที่ได้นำไปขยายผลในการผลิตไฟฟ้าต่อไป

โครงการศึกษาความเป็นไปได้และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลมในแหล่งลมดี

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ตามที่สำนักวิจัยค้นคว้าพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ทำการปรับปรุงแผนที่ศักยภาพพลังงานลมสำหรับประเทศไทย เมื่อปี 2552 ซึ่งทำให้ทราบว่าบริเวณพื้นที่ใดมีศักยภาพของพลังงานลมเพียงพอที่จะพัฒนาเป็น Wind farm ได้ แต่จำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านอื่นๆ เช่น ขนาดพื้นที่เพียงพอหรือไม่ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์มีหรือไม่ระบบสายส่งไฟฟ้ามีความพร้อมหรือไม่จะต้องลงทุนก่อสร้างหรือปรับปรุงสายส่งเพิ่มเติมอย่างไร รวมไปถึงมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่อย่างไร ประเด็นต่างๆ เหล่านี้จะต้องทำการศึกษาให้ครอบคลุมและครบถ้วน ก่อนที่จะส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนให้มาลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ให้

ศึกษาความเป็นไปได้และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานในแหล่งลมดี

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การจัดทำแผนที่ศักยภาพพลังงานลมสำหรับประเทศไทย ทำให้ทราบว่าพื้นที่ใดมีศักยภาพของพลังงานลมเพียงพอที่จะพัฒนาให้เป็น wind farm ในอนาคต ที่สามารถติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าให้ได้ 800 เมกะวัตต์ในปี พ.ศ. 2565 ตามแผนพลังงานทดแทน 15 ปี
การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพของพลังงานลม ศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ศึกษาความพร้อมของระบบสายส่งและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น โดยได้ทำการสำรวจความเร็วลมภาคสนามเบื้องต้นจำนวน 10 พื้นที่จากแผนที่ศักยภาพ

โครงการสาธิตการเปลี่ยนขยะในมหาวิทยาลัยเป็นพลังงานในรูปความร้อน

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่มีปัญหาขยะที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งมีหอพักนักศึกษาอยู่ในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัย มีปริมาณขยะเกิดขึ้นประมาณ 8 - 10 ตันต่อวัน โดยมีวิธีการจัดการขยะในปัจจุบัน คือ การจ้างเหมาบริษัทเอกชนขนขยะไปทิ้งในหลุมฝังกลบที่อยู่ในพื้นที่อื่น ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการจัดการขยะในมหาวิทยาลัยดังกล่าว โดยการจัดการที่เหมาะสมควรมุ่งเน้นที่การลดปริมาณขยะด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นเทคโนโลยีที่มหาวิทยาลัย