มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

การติดตามสถานภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

การติดตามสภานภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย เพื่อติดตามและศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้านการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และสรุปเป็นรายงานสถานภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย เชื่อมโยงไปสู่การสร้างเครือข่ายด้านวิชาการกับต่างประเทศ

โครงการชุมชนต้นแบบผลิตเอทานอลด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

จากปัญหาด้านวิกฤตการณ์ด้านราคาของน้ำมันเชื้อเพลิง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้มีการสนับสนุนโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาโรงงานต้นแบบสำหรับการผลิตเอทานอลในระดับชุมชนเพื่อสนองตอบต่อนโยบายด้านพลังงานทางเลือกของรัฐบาล โดยมีงานวิจัยที่ผลิตเอทานอลจากน้ำส่าที่ได้จากมันสำปะหลังและกลั่นเป็นเอทานอลจนได้มีความเข้มข้นถึง 70%v/v และมีการทดลองและติดตั้งโรงงานต้นแบบในชุมชนตัวอย่างที่เลือกในงานวิจัยระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ในชุมชน 2 ซึ่งจากโครงการวิจัยที่ผ่านมา ซึ่งประสบความสำเร็จในด้านการพัฒนาระบบโรงงานต้นแบบในชุมชนทั้ง 2 ชุมชน โดยสามารถกลั่นเอทานอลใน ขั้นตอนที่ 2 โดยสามารถเพิ่มความเข้มข้นของเอทานอลได้ถึง 70

โครงการการเตรียมแผ่นสองขั้วจากวัสดุผสมระหว่างกราไฟต์ผงกับ พอลิเมอร์เพื่อใช้ในเซลล์เชื้อเพลิงประเภทพอลิเมอร์ อิเล็กโทรไลต์เมมเบรน (PEMFC)

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

จากปัญหาที่น้ำมันมีราคาแพง การค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงจึงเป็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน โดยในงานวิจัยนี้จะสนใจเซลล์เชื้อเพลิงประเภท PEMFC ซึ่งมีหนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญคือ แผ่นสองขั้ว ซึ่งในปัจจุบันแผ่นสองขั้วมักจะทำจากกราไฟต์ ซึ่งมีราคาแพงและมีน้ำหนักสูง ดังนั้นหากสามารถวิจัยและพัฒนาสร้างแผ่นสองขั้วที่มีน้ำหนักเบา และราคาถูกได้ ก็จะทำให้น้ำหนักและราคาของเซลล์เชื้อเพลิงลดลงด้วย ซึ่งจะทำให้นำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ได้

โครงการติดตามประเมินผลการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วม (SMEs)

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

โครงการติดตามประเมินผลความสำเร็จของโครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วมสำหรับสถานประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ได้แก่ ผลการดำเนินมาตรการอนุรักษ์พลังงาน ความพึงพอใจในการดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วม ปัญหาและอุปสรรคต่างๆในการดำเนินงาน ความต้องการด้านการส่งเสริมและสนับสนุนต่างๆจากภาครัฐ และข้อเสนอแนะอื่นๆ เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางส่งเสริมและพัฒนาโครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วม ให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องและมีความยั่งยืนต่อไป

การผลิตไฮโดรเจนจากกลีเซอรอลซี่งเป็นผลิตภัณฑ์ข้างเคียงจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล

เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

งานวิจัยนี้ได้ใช้กลีเซอรอลความบริสุทธิ์ต่าหรือที่เรียกว่ากลีเซอรอลเหลืองซึ่งได้จากหอกลั่นแยกกลีเซอรอลโดยมีความบิรสุทธิ์น้อยกว่ากลีเซอรอลบริสุทธิ์มาเป็นวัตถุดิบ มาผลิตเป็นก๊าซไฮโดรเจน

Pages