มหาวิทยาลัยรังสิต

โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลศักยภาพชีวมวลในประเทศไทย

รูปแบบของโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ภายหลังจากการเก็บเกี่ยวจะมีวัสดุเหลือทิ้งในปริมาณค่อนข้างมาก นอกจากนี้ยังมีชีวมวลที่เกิดขึ้นหลังกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น แกลบ ชานอ้อย เส้นใยและกะลาปาล์ม เป็นต้น โดยปกติแล้วโรงงานอุตสาหกรรมจะใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลได้แก่ น้ำมันเตา น้ำมันดีเซล ก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี) ถ่านหิน เนื่องจากคุณสมบัติเชื้อเพลิงที่มีค่าความร้อนสูง การขนส่งเชื้อเพลิงสามารถทำได้สะดวก และราคาเชื้อเพลิงไม่สูงมากนัก แต่ในช่วงระยะเวลากว่าสิบปี ที่ผ่านมาราคาเชื้อเพลิงปิโตรเลียมได้ปรับตัวสูงขึ้นตามกลไกราคาในตลาดโลก ส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากปรับเปลี่ยนเชื้อเพลิงจากปิ โตรเลียมมาใ

โครงการจัดทำระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลเพื่อติดตามและประเมินผลการผลิตก๊าซชีวภาพในประเทศ

รูปแบบของโครงการ: 
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: 
ปีดำเนินโครงการ: 

     ก๊าซชีวภาพ เป็นพลังงานหมุนเวียน ( Renewable Energy) ชนิดหนึ่งที่สามารถดำเนินการผลิตและใช้เป็นพลังงานทดแทนพลังงานจากฟอสซิล ( น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน) หรือจัดเป็นพลังงานทางเลือก (Alternative Energy) ที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเป็นประเทศเกษตรกรรม ทำให้มีวัตถุดิบที่สามารถนำมาผลิตก๊าซชีวภาพได้อย่างหลากหลาย เช่นของเสียหรือน้ำเสียจากภาคอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ภาคปศุสัตว์ ภาคชุมชนและสถานประกอบการต่างๆ หรือแม้แต่ของเหลือทิ้งทางการเกษตรหรือจากพืชพลังงานต่างๆ