รายงานของ GIZ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ และเพิ่มเป้าการใช้พลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย

 

รายงานของ GIZ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

และเพิ่มเป้าการใช้พลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย

 

               รัฐบาลไทยเดินหน้าเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนภายในประเทศด้วยการสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาอย่างสูง โดยเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (NEPC) ได้อนุมัติสองมาตรการที่จะเพิ่มเป้าหมายติดตั้งกำลังการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์อีก 1,000 MW เป็น 3,000 MW นับตั้งแต่รัฐบาลปิดรับสมัครผู้สนใจภาคเอกชนเข้าร่วมโครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่รู้จักกันในนามของ adder-tariff-scheme (feed-in premium) ไป มาตรการใหม่นี้ถือเป็นการเปิดโอกาสรอบใหม่ที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์ในประเทศไทย

โครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop)

มาตรการแรกที่มีการประกาศออกมาก็คือแนวทางการให้ความสนับสนุนแก่การติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ (PV) บนหลังคา ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าในด้านนี้เนื่องจากเท่าที่ผ่านมาอุตสาหกรรม PV ในประเทศไทยส่วนใหญ่ขึ้นกับการติดตั้ง free-field ขนาดใหญ่ภายใต้โครงการ adder-scheme แต่แนวทางใหม่ที่กระทรวงพลังงานประกาศออกมานี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชน และชุมชน ช่วงฉุดระดับ peak load และเสริมความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศไทย

                คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (ERC) ได้ประกาศกฎระเบียบและข้อบังคับในเรื่องนี้ออกมาในช่วงครึ่งแรกของเดือนกันยายน 2556 และทาง GIZ ได้ทำการแปลกฎระเบียบและข้อบังคับนี้อย่างไม่เป็นทางการเป็นภาษาอังกฤษโดยสามารถที่จะดูกฎระเบียบและข้อบังคับฉบับแปลได้จาก:

http://www.thai-german-cooperation.info/download/20130918_giz_translatio...

                มาตรการส่งเสริม Solar rooftop มีโควตา/เป้าหมายซึ่งคิดเป็นกำลังการผลิตรวม 200 MW ซึ่งจะกระจายไปยังกลุ่มต่างๆ ดังแสดงในตารางด้านล่าง ซึ่งจากกำลังการผลิตทั้งหมด 200 MW นั้น 80 MW จะถูกจัดสรรให้กับการติดตั้งในพื้นที่สามจังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ (40 MW ให้กับอาคารพักอาศัย และอีก 40 MW ให้กับอาคารพาณิชย์) โดยใบสมัครของผู้เข้าร่วมโครงการในส่วนนี้จะถูกพิจารณาและดำเนินการโดยการไฟฟ้านครหลวง (MEA) ในขณะที่ใบสมัครของส่วนอื่นๆ ที่เหลือจะถูกพิจารณาและดำเนินการโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) (สามารถดูโควต้าของแต่ละจังหวัดได้จากประกาศกฎระเบียบและข้อบังคับ)

                 ทางการจะรับประกัน feed-in tariff เต็มที่ตลอด 25 ปีเริ่มนับจากวันที่กำหนดให้เริ่มเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (SCOD) ซึ่งตามกฎเกณฑ์ที่ประกาศมานั้น SCOD ของระบบผลิตไฟฟ้า solar rooftop ทั้งหมดตั้งไม่หลังวันที่ 31 ธันวาคม 2556

                จากการหารืออย่างไม่เป็นทางการกับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงพลังงาน คาดว่าในปี 2557 อาจจะมีการขยายเป้าหมาย 200 MW ขึ้น โดยอาจจะมีการกำหนด feed-in tariff ที่ต่ำลงสำหรับผู้ที่สนใจจะติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ตามโครงการนี้ต้องยื่นใบสมัครที่ PEA หรือ MEA ระหว่างวันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556 ถึงวันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2556 ในช่วงเวลา 09:00-15:00 น. ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ที่จะทำหน้าที่ติดตั้งระบบ PV บนหลังคาก็จะต้องผ่านการรับรองและลงทะเบียนกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (DEDE) หรือเป็นบุคคลที่ได้รับในอนุญาตในการประกอบวิชาชีพในด้านที่เกี่ยวข้อง (ดู ภาคผนวก 7 หรือ กฎระเบียบและข้อบังคับ)

 

โครงการผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ชุมชน

                 ในขณะที่โครงการ rooftop ได้มีการสรุปกฎระเบียบและข้อบังคับออกมาเรียบร้อยแล้ว แต่มาตรการที่สองนี้ยังอยู่ระหว่างการจัดทำกฎระเบียบและข้อบังคับ ซึ่งจากความริเริ่มของโครงการนี้ กระทรวงพลังงานได้สานต่อแนวทางการพัฒนาแหล่งพลังงานโดยอิงอยู่กับชุมชน และสร้างมูลค่าให้กับท้องถิ่น รวมถึงสร้างโอกาสในการทำงานและช่องทางหารายได้ใหม่ๆ ให้กับคนในชุมชน โดยมาตรการนี้ประกอบด้วยการกำหนด feed-in tariff อัตราพิเศษสำหรับระบบการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนพื้นดิน และอิงอยู่กับชุมชน โดยมีสัดส่วนโควตา/เป้าหมายกำลังการผลิตรวม 800 MW ซึ่งแต่ละโครงการคาดว่าจะมีขนาดประมาณ 1 MW ซึ่งโครงการที่อยู่ภายใต้มาตรการนี้จะต้องมีกำหนด SCOD ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ในขณะที่รายละเอียดของกฎระเบียบข้อบังคับของมาตรการนี้ยังอยู่ระหว่างการจัดทำ แต่ข้อมูลที่กระทรวงพลังงานเปิดเผยออกมาอย่างไม่เป็นทางการก็คือ การหาวิธีที่จะนำแนวคิดที่อิงอยู่กับชุมชนมาปรับใช้ โดยในประเทศไทยนั้น

                  สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เป็นองค์การพัฒนาระดับท้องถิ่นที่ให้เงินกู้/เงินช่วยเหลือแก่หมู่บ้านและชุมชน ซึ่งจะมีการกันเงินส่วงนหนึ่งไว้สำหรับโครงการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ แต่เนื่องจากความช่วยเหลือทางการเงินที่หมู่บ้านแต่ละแห่งจะได้รับจากกองทุนยังไม่พอที่จะติดตั้งกำลังผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ถึง 1 MW คณะกรรมการชุมพิเศษจึงต้องพิจารณาการผูกรวมเงินช่วยเหลือของแต่ละหมู่บ้านเข้าด้วยกันเพื่อให้โครงการสามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งคาดว่าการจะเกิดโครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์หนึ่งโครงการต้องใช้ทุนประมาณ 15 ล้านบาท (355T Euro)  ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหมู่บ้านต่างๆ ถึง 60 หมู่บ้านด้วยกัน สำหรับส่วนของเงินกู้ (ซึ่งกระทรวงพลังงานคาดว่าต้องใช้ประมาณ 45 ล้านบาท (1.065T Euro) จะมาจากธนาคารรัฐสองแห่ง คือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสินผลตอบแทนจากโครงการนี้ จะอยู่ในรูปของ feed-in tariff ดังแสดงในตารางด้านล่างซึ่งจะจ่ายตรงไปให้กับหมู่บ้านต่างๆ ที่ร่วมลงทุนในส่วนของการติดตั้งระบบ ส่วนไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นจะส่งไปให้กับระบบจ่ายไฟฟ้าสาธารณะ และได้รับค่าตอบแทนจากการจ่ายไฟในอัตราที่คงที่ ทั้งนี้ทางกระทรวงพลังงานตั้งเป้าหมายว่าส่วนภาระหนี้ของโครงการนี้จะหมดไปภายในประมาณ 6-8 ปี ซึ่งกำไรที่เกิดขึ้นจากช่วงที่เหลือที่ค่าไฟยังถูกตรึงไว้อยู่นั้นก็จะส่งตรงกลับไปยังหมู่บ้านต่างๆ ที่ร่วมลงขันเงินทุน

 

ภาพร่างด้านล่างนี้แสดงถึงกระบวนการที่คาดว่าจะเกิดขึ้น:

      ไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ตามแผนพัฒนาพลังงานทางเลือกปี 2556 (AEDP) เพิ่มขึ้นเป็น 3,000 MW จากเป้าเดิมที่ตั้งไว้ที่ 2,000 MW ในปี 2555 เมื่อลองย้อนกลับไปดูแผนพัฒนาพลังงานหมุนเวียนปี 2545 ปรากฏว่ามีการเพิ่มเป้าหมายจาก 500MW เป็น 3,000MW ซึ่งไม่เพียงแต่เป้าการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์จะเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่เป้าการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนอื่นๆ ก็เพิ่มขึ้นด้วย รายละเอียดสามารถดูได้จากตารางด้านล่าง:

 

ติดต่อ GIZ ได้ที่

Thomas Chrometzka

ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการ ด้านพลังงานหมุนเวียน

โทรศัพท์: +66 2 621 8441

thomas.chrometzka@giz.de

www.giz.de/projektentwicklungsprogramm

 

ข้อมูลข้างต้นถูกรวมรวมภายใต้บริบทของโครงการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Project Development Programme หรือ PDP) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงการนี้ดำเนินการโดย Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit (GIZ) GmbH ในนามของกระทรวงเศรษฐกิจและพลังงานของประเทศเยอรมนี ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงฉบับนี้จัดพิมพ์ขึ้นในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของชุดข้อมูลที่แผนแพร่เพื่อส่งเสริมโอกาสเกี่ยวกับธุรกิจทางด้านพลังงานหมุนเวียนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทางบริษัทไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจเกิดจากความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ของข้อมูลเมื่อมีการนำไปใช้ต่อ

ไฟล์/vdo/ข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง: 
AttachmentSize
PDF icon Photovoltaic Support Programme_th.pdf371.19 KB