คู่มือการพัฒนาและลงทุนผลิตพลังงานทดแทนจากน้ำ

 

      การใช้น้ำเพื่อผลิตพลังงานในประเทศไทยได้ดำเนินการมาอย่างช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่   แม้ว่าในปัจจุบันโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ในประเทศไทยจะไม่สามารถเกิดขึ้นมาใหม่เนื่องจากสภาพภูมิประเทศ และบริเวณที่มีศักยภาพไม่เหมาะสมต่อการพัฒนา แต่ก็ยังมีพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพและเหมาะสมต่อการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำอีก อาทิ ไฟฟ้าพลังน้ำระดับหมู่บ้านหรือชุมชน อ่างเก็บน้ำเพื่อชลประทานของกรมชลประทานหรือขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศก็ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ผลิตไฟฟ้าได้นอกเหนือจากการใช้ประโยชน์จากด้านชลประทาน การประมงหรือการเกษตร ซึ่งจากการศึกษาพื้นที่ที่มีศักยภาพของไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กทั่วประเทศ พบว่ามีพื้นที่ที่มีศักยภาพซึ่งสามารถนำมาพัฒนาเป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กได้ถึง 25,500 เมกะวัตต์และเป็นไฟฟ้าพลังนั้นขนาดเล็กมากหรือไฟฟ้าพลังน้ำระดับหมู่บ้าน 1,000 เมกะวัตต์ และเป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำท้ายอ่างเก็บน้ำอีกประมาณ 115 เมกะวัตต์

       สำหรับคู่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทนจากพลังงานน้ำ (ไฟฟ้าพลังน้ำ)ที่ได้จัดทำขึ้นนี้จะเป็นคู่มือที่จะช่วยให้ผู้สนใจทราบถึงเป้าหมายของแผนพัฒนาพลังงานทดแทน รวมทั้งมีความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาพลังงานน้ำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า  เพื่อทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล อาทิ  การพิจารณาถึงศักยภาพ  โอกาสและความสามารถในการจัดหาแหล่งพลังงานหรือวัตถุดิบ ลักษณะการทำงานทางเทคนิค และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่โดยทั่วไปข้อดีและข้อเสียเฉพาะของแต่ละเทคโนโลยี การจัดหาแหล่งเงินทุน กฎระเบียบและมาตรการ

ไฟล์/vdo/ข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง: