โครงการศึกษากำหนดแนวทางส่งเสริมการใซ้ซีวมวลแบบผลิตพลังงานความร้อนตามแผนพัฒนาพลังงานทตแทน 15 ปี

รายละเอียด: 

        เนื่องด้วยประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ผลผลิตส่วนใหญ่จึงได้จากการเกษตรเป็นสำคัญ ได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และปาล์มนํ้ามัน เป็นด้น ซึ่งภายหลังจากการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปพืซผล ทางการเกษตรจะมีชีวมวลหรือเศษวัสดุเหลือทิ้งอยู่บริเวณพื้นที่เพาะปลูก หรือบริเวณสถานที่แปรรูปพืชผล การเกษตรเป็นจำนวนมาก เช่น กากอ้อย แกลบ กากใยปาล์ม ซังข้าวโพด และเศษไม้ เป็นด้น ซึ่งวัสดุ เหลือทิ้งดังกล่าวมีคุณสมบัติเป็นเชื้อเพลิงที่ดี ประกอบกับราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ในปัจจุบัน ส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าหลายแหล่งได้นำเอาวัสดุเหลือทิ้งหรือชีวมวลมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเสริมหรือทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นวิธีการกำจัดเศษวัสดุเหลือทิ้งและช่วยลดค่าใช้จ่าย ด้านพลังงานของโรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้า

        จากเหตุผลดังกล่าวข้างด้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการผลิตและใช้พลังงานจากชีวมวลในภาคส่วนต่างๆ กระทรวงพลังงานจึงได้จัดทำแผนพัฒนาพลังงานพลังงานทดแทน 15 ปี โดยส่งเสริมให้มีการใช้ พลังงานชีวมวลในประเทศภายในปี 2565 คิดเป็นการผลิตและใช้พลังงานความร้อนจากชีวมวล 6,760 พันตันเทียบเท่านํ้ามันดิบ และการผลิตและใช้พลังงานไฟฟ้าจากชีวมวล 3,700 เมกะวัตต์ ดังนั้น กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบการส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานทดแทน จึงต้องเร่งรัดในการส่งเสริมการผลิตพลังงานจากชีวมวลให้บรรลุเป้าหมาย ตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมพลังงานทดแทนของประเทศ

        จากการประเมินศักยภาพซีวมวลในปี 2551 พบว่าประเทศไทยมีศักยภาพของชีวมวลที่ยังไม่ได้มี การนำมาใช้งาน ได้แก่ ฟางข้าว ยอดและใบอ้อย เหง้ามันสำปะหลัง ทะลายปาล์มเปล่า คิดเป็นค่า พลังงานถึง 10,340 พันตันเทียบเท่านํ้ามันดิบ ตังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการนำซีวมวลตังกล่าวมาใช้ ประโยชน์ในการผลิตพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานจึงต้องดำเนินการศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการผลิตพลังงานจากซีวมวล แนวทางในการกำหนดมาตรการและนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและใช้พลังงานชีวมวลในภาคส่วนต่างๆ ศึกษาแนวทางการ สร้างผู้ประกอบกิจการด้านอุปกรณ์ระบบผลิตพลังงานจากชีวมวล เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานโดยใช้วัตถุดิบและอุปกรณ์ในประเทศ ลดการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล และบรรลุเป้าหมายของ ยุทธศาสตร์ตามที่กระทรวงพลังงานได้กำหนดไร้

ปีดำเนินโครงการ: 
เลขที่สัญญา: 
131/53
เครือข่าย/หน่ายงานรับผิดชอบโครงการ: