From using heat to using work: reconceptualising the zero carbon energy transition
ปัจจุบัน แหล่งผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็นแหล่งพลังงานหลักในการดำเนินการตามเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ แหล่งผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์และลมเป็นแหล่งที่มีการขยายตัวได้รวดเร็วกว่าแหล่งผลิตไฟฟ้าจากเครื่องทำความร้อน ด้วยสมมติฐานที่ว่าแหล่งพลังงานเหล่านี้เป็นแหล่งพลังงานหลักในการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ในอนาคต บทความนี้จึงได้ศึกษาประเด็นเพิ่มเติมจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (energy transition) โดยประการแรก ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนผ่านพลังงานไม่ได้มีเพียงแค่การเลิกใช้เชื้อเพลิงคาร์บอนเพียงอย่างเดียว ยังมีการเปลี่ยนระบบการผลิตจากการผลิตโดยใช้ความร้อน (heat-producing) ไปเป็นการผลิตโดยใช้งาน (work-producing) ประการที่สอง work-producing ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแปลงพลังงานขั้นสุดท้ายผ่านการใช้ไฟฟ้าและไฮโดรเจนได้อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำความร้อนและการขนส่ง งานวิจัยนี้นำเสนอการทดลองทางความคิด (thought experiment) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เมื่อเปลี่ยนระบบการผลิตมาเป็นแบบ work-producing จะทำให้ความต้องการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายลดลงถึง 40% นอกจากนี้ มาตรฐานทางเทคนิคและการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับประสิทธิภาพในการแปลงพลังงานขั้นสุดท้ายและ/หรือประสิทธิภาพการส่งต่อการให้บริการควรถูกใช้เป็นเครื่องมือเชิงนโยบาย
Three reasons why agrivoltaics could be key renewables sector in India

ประเทศอินเดียได้ตั้งเป้าหมายเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนไว้ที่ 500 กิกะวัตต์ภายในปี ค.ศ. 2050 การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในที่ดินที่ใช้เพื่อการเกษตร หรือ agrivoltaics เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยให้อินเดียสามารถบรรลุเป้าหมายได้โดยเร็ว ซึ่งสถาบัน Institute for Energy Economics and Financial Analysis (IEEFA) ได้ให้เหตุผลไว้ 3 ประการ ดังนี้ (1) ขนาดและขอบเขตการเติบโตของระบบไฟฟ้า (2) สภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศ และ (3) โอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ชนบท
Small scale standalone solar and tidal hybrid power system in isolated area

นักวิจัยเล็งเห็นถึงศักยภาพการใช้ประโยชน์จากกระแสน้ำขึ้น-น้ำลงของช่องแคบมะละกา จึงได้ทำการศึกษาออกแบบระบบพลังงานหมุนเวียนแบบผสม (HRES) ที่ใช้แหล่งพลังงานหลักจากกระแสน้ำขึ้น-น้ำลงและพลังงานแสงอาทิตย์ และแหล่งพลังงานสำรองจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าไว้ใช้สำหรับประภาคาร โดยนักวิจัยได้ทำการศึกษาด้วยวิธีการสร้างแบบจำลอง (simulation method) เพื่อประมาณการและเปรียบเทียบโครงสร้างระบบที่เหมาะสมที่สุดของ HRES ที่มีระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบดีเซลควบคู่ไปด้วย